Saturday, November 6, 2021

หุ่นยนต์

หุ่นยนต์


หุ่นยนต์ คือเครื่องยนต์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ หรืออาจมีการตั้งค่าให้หุ่นยนต์สามารถตัดสินใจได้เองในระดับใดระดับหนึ่ง การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากหรืออันตรายเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบ งานสำรวจในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ หรืองานสำรวจบนผิวของดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ต่าง ๆ ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในหลากหลายด้าน เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต ด้านการแพทย์ ด้านงานสำรวจทั้งในโลกเราและงานสำรวจในอวกาศ หรือด้านการบันเทิง เช่นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์มากขึ้นเพื่อผลทางจิตวิทยาในการอาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ในชีวิตประจำวัน

หุ่นยนต์ที่ใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรม   

Articulated Arm (Revolute)

ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน ดังรูป






ข้อดี
1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะ ของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่างๆ
2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำ ได้ง่าย
3. มีพื้นที่การทำงานมาก
4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง
5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นชุดขับเคลื่อน
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมทำความ เข้าใจได้ยากขึ้น
3. ควบคุมให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear) ได้ยาก


หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือสัตว์
Xiaomi CyberDog



    CyberDog ขับเคลื่อนด้วยสมองกล NVIDIA® Jetson Xavier™ NX ที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ถูกรวบรวมจากเซนเซอร์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วไม่มีติดขัด ทั้งเซนเซอร์จำนวน 11 ตัว ทั้งเซนเซอร์ตรวจจับการสัมผัส, เซนเซอร์ Ultrasonic, กล้อง, GPS ฯลฯ ทำให้มันสามารถวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อหลบหลีกสิ่งกีดขวางหรือเดินตามเป้าหมายได้อย่างแม่นยำซึ่งเซนเซอร์เหล่านี้ยังเอาไปพัฒนาต่อให้ฉลาดมากขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย อย่างเช่นการสอนให้มันจดจำใบหน้าเจ้าของเพื่อให้เดินตาม แถมยังเพิ่มความเป็นหมาให้ CyberDog ทำความเร็วในการเคลื่อนที่สูงสุดที่ 3.2 เมตร / วินาที หรือ 11.5 กม. / ชั่วโมง ทำท่าทางที่ซับซ้อนอย่างกระโดดตีลังกากลับหลังได้ และบรรทุกของได้น้ำหนักสูงสุดที่ 3 กก.มากขึ้นด้วยความสามารถในการรับคำสั่งเสียงเพื่อทำงานต่าง ๆ ได้
    หรือถ้าขี้เกียจพูดก็บังคับผ่านมือถืvแทนCyberDog ยังรองรับอุปกรณ์เสริมอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น เซนเซอร์ LiDAR, กล้อง Panoramic, ไฟฉาย และอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเฉพาะด้านให้มากขึ้น โดยจะเสียบผ่านพอร์ต USB-C และ HDMI ที่มีติดมากับตัว

หุ่นยนต์ที่ใช้ทางการแพทย์ หรือการทหาร
DoctoSight




    เมื่อมีกระแสโรคระบาดเกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับโลก นอกจากจะสร้างความตื่นตระหนกให้ผู้คนเป็นวงกว้างแล้ว ยังส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำหน้าที่กันเต็มกำลังเพื่อรักษาผู้ป่วย และเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้รู้ว่าบุคลากรทางการแพทย์หลายด้านมีความขาดแคลน ดังนั้น นี่เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้นักวิจัยพยายามจะคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับแพทย์ในการทำหน้าที่รักษาผู้ป่วย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้มากที่สุดด้วย

   ไทยเป็นหนึ่งในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ จากการกระจายตัวบุคลากรด้านการแพทย์ในหลายพื้นที่ ทำให้อัตราส่วนจำนวนบุคลากรทางด้านการแพทย์ต่อประชากรทั้งหมดค่อนข้างต่ำ เฉลี่ย 0.393 คนต่อประชากร 1000 คน โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดอย่างการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ยิ่งทำให้รู้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ไทยยังขาดแคลน ในฐานะนักวิจัยจึงต้องการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาแบ่งเบาภาระแพทย์พยาบาล ตลอดจนมุ่งพัฒนายกระดับระบบสาธารณสุขของประเทศให้ดีขึ้นด้วย”

   ทางทีมวิจัยคณะวิศวะมหิดล จึงได้พัฒนา หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ Doctosight สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช (Telemedecine) ขึ้น เพื่อช่วยให้แพทย์และบุคลากรไม่ต้องเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากคนไข้อย่างได้ผล

   โดยจุดเด่นของหุ่นยนต์นี้สามารถทำงานร่วมกันได้มากกว่าหนึ่งตัวเพื่อตอบสนองคำสั่ง ในการตรวจสอบข้อมูลการทำงานในเชิงดิจิทัลในรูปแบบของการทำงานหุ่นยนต์ เช่น เวลาการบังคับของผู้ใช้งาน การระบุตำแหน่งหุ่นยนต์ที่มากกว่าหนึ่งตัวในระบบควบคุม

   นอกจากนั้น ตัวระบบจะอาศัยแพทย์หรือพยาบาลเฉพาะตอนที่ให้คำปรึกษากับคนไข้ผ่านตัวหุ่นยนต์ ซึ่งช่วยลดภาระการทำงานของแพทย์ พยาบาล เช่น วัดชีพจร วัดความดันเลือด วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น และส่วนกลางของตัวหุ่นยนต์ออกแบบเป็นช่องเก็บของ ช่วยลำเลียงยาและวัสดุไปยังคนไข้ ในส่วนของการติดต่อสื่อสารระหว่างหุ่นยนต์กับตัวผู้ใช้งาน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงการใช้งานของหุ่นยนต์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยทำให้อยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถดาวโหลดและเข้ารหัสกับตัวหุ่นยนต์ ด้วยการควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ผ่านระบบติดต่อไร้สาย ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย และยังสามารถแสดงผลจากตัวหุ่นยนต์มาได้เสมือนอยู่ในสเตชั่นควบคุมหุ่นยนต์ด้วย

หุ่นยนต์ที่ใช้เก็บกู้ระเบิด 
THER





กว่า 5 ปี ของการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด โดยเริ่มจากแรงบันดาลใจ ที่อยากจะช่วยเหลือประเทศไทยในแบบของวิศวกร โดยจะขอใช้ความรู้ความสามารถที่มี เป็นกำลังหนุนให้กับเหล่าทหารที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันประเทศในเหตุการณ์ไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเห็นความสำคัญของหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่สามารถเข้าไปเก็บกู้หรือทำลายวัตถุต้องสงสัยแทนเจ้าหน้าที่ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดแม้จะปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จ หุ่นยนต์เหล่านี้จะเข้าไปตายแทนเจ้าหน้าที่ ถือเป็นการลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งแน่นอนว่ามูลค่าของหุ่นยนต์ เทียบไม่ได้เลยกับชีวิตคนหนึ่งคน แม้ว่าราคาจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม

จากความคิดนี้ ทำให้มีเริ่มวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นแรกขึ้น และ เพื่อให้สามารถใช้ได้จริง เหมาะสมกับสถานการณ์ พื้นที่ รวมไปถึงการใช้งานฟังก์ชั่นต่าง ๆ นั้น ทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดรุ่นถัดมาอีกหลายรุ่น จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง การใช้ความรู้ความสามารถของเหล่าวิศวกรไทย และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการทดสอบใช้งานจริงนับครั้งไม่ถ้วน เกิดเป็นหุ่นยนต์แห่งความภาคภูมิใจรุ่นใหม่ล่าสุด คือ หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่มีชื่อว่า “THER” ซึ่งต้องย้ำว่าวิดีโอที่ได้รับชมไปนั้น เป็นเพียงการสาธิตบางส่วนเท่านั้น เพราะหุ่นยนต์ตัวนี้มีอะไรพิเศษ ๆ อีกมากมายที่ต้องติดตาม รับรองว่าต้องภูมิใจในความสามารถของวิศวกรไทย และประทับใจ “THER” อย่างแน่นอน

 





 


 


ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

 บริษัท บางกอกเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมชชินเนอรี จำกัด




ผู้เชี่ยวชาญในการ สร้างระบบสายพานการผลิต ไลน์การบรรจุของเหลว ลงบรรจุผลิตภัณฑ์แบบอัตโนมัติความเร็วสูง (Automatic Hi-Speed Bottle Filling Line) และ สร้างเครื่องจักรที่เป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Automatic Bottle Filling Line) ทั้งระบบ เรามีผลงานโดดเด่น หลายโครงการจากบริษัทเจ้าของแบรนด์ชั้นนำของไทยและต่างชาติ ตลอด 30 ปี ที่ผ่านมา


ระบบสายพานลำเลียง

     เครื่องลำเลียงขวดเปล่าใส่สายพาน เป็นเครื่องจักรที่ถูกออกแบบมาเฉพาะ ใช้ได้กับขวดหลายขนาด และทำงานร่วมกับสายพานลำเลียงขวดเปล่าอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการทำงานใช้ระบบมอเตอร์ SERVO และ PHOTOELECTRIC SENSOR ในการ CONTROL การขึ้นลงและเกลี่ยขวดตามทิศทางที่กำหนด และมีระบบความปลอดภัย (SAFTY SWITCH) ติดตั้งอยู่รอบเครื่อง

เครื่องจัดเรียงกล่องวางใส่พาเลท PALLETIZER

     เครื่องยกเคลื่อนย้ายกล่องแพคที่บรรจุ / ปิดฝา / ห่อแพคกล่องแล้ว จากสายพานลำเลียงจัดเป็นแถวๆ เรียงบน PALLET ให้เต็มหน้าทีละชั้น เครื่องจักรถูกออกแบบโดยเฉพาะให้ทำงานร่วม กับสายพานลำเลียงกล่องอย่างมีประสิทธิภาพ รูปทรงของกล่องบางชนิดยังเป็นข้อกำหนดที่สำคัญ ที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมในการทำงานของเครื่อง หลักการทำงานใช้ระบบมอเตอร์ BRAKE MOTOR และ PHOTOELECTRIC SENSOR ในการ CONTROL การขึ้นลงและใช้ระบบ LINEAR โยก,ซ้าย,ขวา มีชุดจัดทิศทางแพคตามที่กำหนดในรูปแบบที่ต้อง การจะจัดในแต่ละแถวๆละ 4 – 7แพคเรียงยาวไม่เกิน PALLET ต่อจากนั้นก็จะยกเคลื่อนย้ายจากสายพานไปเรียงบน PALLET ที่ละแถวๆ ทีละชั้นอย่างเป็นระเบียบ และมีระบบความปลอดภัย (SAFTY SENSOR & SWITCH) ติดตั้งอยู่รอบเครื่อง เพื่อยกเคลื่อนย้ายเรียงบน PALLET จนครบตามกำหนดของจำนวนแถวแต่ละชั้น และจำนวนชั้นที่กำหนดไว้ตามแต่ละขนาดความสูงของขวดน้ำมันพืช แต่สูงสุดไม่เกิน 1.50 เมตร จากนั้นก็พาเข้าสู่กระบวนการอื่นต่อไป



บริษัท ริเวอร์พลัส จำกัด

      เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ด้วยการทำงานแบบเรียลไทม์, การบันทึกข้อมูลในทันที รวมทั้งประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การจัดการสินค้าตามคำสั่ง ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า ที่พร้อมทำงานร่วมกับระบบนำทางด้วยเสียง (Voice Picking System) หรือระบบการหยิบชิ้นงานตามไฟ (Digital Picking) และ Automated Guided Vehicle หรือ AGV คือระบบขับเคลื่อนภายในอาคารโดยไม่ต้องใช้คน ช่วยให้ท่านลดข้อผิดพลาด ลดต้นทุน และประหยัดงบประมาณของคลังสินค้าได้


Automated Guided Vehicle หรือ AGV 

     คือหุ่นยนต์ที่เป็นพาหนะ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น “รถ” ที่ใช้ขนส่งภายในอาคารแบบไร้คนขับ ที่ช่วยขนย้ายสินค้า และอุปกรณ์ ทั้งภายในคลังสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดดเด่นด้านการรองรับน้ำหนัก และการลำเลียงอย่างถูกต้องและปลอดภัย แม้ไร้แสงสว่าง หรือทำงานร่วมกับมนุษย์รถ  AGV ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในคลังสินค้าจนได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อน ในแต่ละวันมีการนำเข้าและส่งออกสินค้าจำนวนมาก อีกทั้งยังมีประเภทของสินค้าที่หลากหลาย การจัดการในเรื่อง location การหยิบสินค้าตาม Order การเติมสินค้า จัดการ stock หากใช้คนเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เกิดความล่าช้าและโอกาสผิดพลาดสูงในตลาด E-Commerce ผู้นำด้านโลจิสติกส์ระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Amazon หรือ Alibaba ได้นำ AGV มาใช้ในการบริหารจัดการสินค้าในระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ (Intelligent Warehouse) เป็นจำนวนมาก ด้วยความสามารถในการรองรับน้ำหนักที่มากในการขนย้ายและลำเลียง AGV สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในไลน์การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดีในการขนย้าย pallet วัตถุดิบ หรือ finished goods


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น  การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีที่มาจากผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลกับคนอื่นๆได้ ดังนั้น ก่อนมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยการ พิมพ์(print) ข้อมูลออกมาเป็นเอกสารก่อนแล้วค่อยนำไปให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้หรือแก้ไขข้อมูลอีกคนหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียเวลาและเป็นวิธีที่ยุ่งยากมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ การจัดแบ่งรูปแบบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงแยกตามขนาดของเครือข่าย

ระบบเครือข่าย

1. LAN (Local Area Network)



     ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆพัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการเชื่อมต่อเทอร์มินอล (Terminal)เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainfram Computer) หรือเชื่อมต่อกับมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ซึ่งการควบคุมการสื่อสารและการประมวลผลต่างๆจะถูกควบคุมและดำเนินการโดยเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างว่าโฮสต์ (Host) โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอล ส่วนเทอร์มินอลทำหน้าที่เป็นเพียงจุดรับข้อมูล และ แสดงข้อมูลเท่านั้น สำหรับเครือข่ายในปัจจุบันมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งการเข้าถึงและการใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่บนเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ดิสก์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันเรียกเทอร์มินอลที่มีความสามารถเล่านี้ว่าโหนด(Node)ลักษณะการกระจายการทำงานแบบการกระจายศูนย์ (Distributed System) ซึ่งเป็นการกระจายภาระ และหน้าที่การทำงานไปโหนดบนเครือข่ายทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยลดภาระการทำงาน ของโฮสต์ลงได้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีการใช้งานเครือข่ายระยะใกล้ หรือเรียกอีกอย่างว่าเครือข่ายท้องถิ่น (LAN หรือ Local Area Network) อย่างแพร่หลายในเกือบทุกหน่วยงาน จนเปรียบเสมือนปัจจัยในการทำงานของสำนักงานทั่ว ๆ ไป เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์ดีด หรือเครื่องถ่ายเอกสารบุคคลากรเกือบทุกคนในหน่วยงานจะมี เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1 เครื่อง เพื่อใช้งานในด้านต่างๆ นอกจากนี้อาจจะมีการเชื่อมโยงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์กับระบบงานอื่น ภายในหน่วยงานเดียวกันภายในตึกเดียวกัน หรือภายในองค์กรเดียวกัน การเชื่อมโยงในลักษณะนี้เปรียบเสมือนการเชื่อมโยงประสานการทำงานของหน่วยงานหรือ องค์กรเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกการเชื่อมโยงลักษณะนี้ว่าเครือข่ายท้องถิ่น สรุปแล้วเครือข่ายระยะใกล้ หรือเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) เครื่องพิมพ์ (Printer) และอุปกรณ์ใช้งานทางคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงเอกสาร ส่งข้อมูลติดต่อใช้งานร่วมกันได้ การติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์ จะอยู่ในบริเวณแคบ โดยทั่วไปมีระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร เช่น ภายในอาคารสำนักงานภายในคลังสินค้า โรงงาน หรือระหว่างตึกใกล้ ๆ เชื่อมโยงด้วย สายสื่อสารจึงทำให้มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงมาก และมีความผิดพลาดของข้อมูลต่ำ

2.MAN (Metropolitan Area Network)

   ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก

3.WAN (Wide Area Network) 


ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)ระบบเครือข่ายระยะไกล หรือ Wide Area Network เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะเป็นแพ็คเก็ต (Packet) ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง แพ็กเก็ตนี้ถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีสายสื่อสารหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นในการเชื่อมต่อถึงกันในลักษณะเป็นลูกโซ่ หรือเป็นทอดๆอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระหว่างทางแต่ละตัวจะรับข้อความนั้นเก็บจำเอาไว้ และส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปในเส้นทางที่สะดวก รูปแบบของเครือข่ายที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของอัลกอริทึมสำหรับการคำนวณในการส่งแพ็คเก็ต โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ แบบดาตาแกรม (Datagram) และแบบเวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual Circuit)หรือแบบวงจรเสมือน ระบบดาตาแกรมพิจารณาแต่ละแพ็คเก็ตแยกออกจากกัน แพ็คเก็ตต่างๆของข้อความเดียวกันอาจถูกส่งไปในเส้นทางที่ต่างกันได้ขึ้นอยู่กับปริมาณข่าวสารในเครือข่ายในแต่ละขณะเวลาที่ผ่านไป และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครือข่ายเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์บางตัว"เสีย"(คือไม่อาจร่วมในการส่งผ่านข่าวสารในเครือข่ายได้) ดังนั้นการจัดเส้นทางจึงทำอยู่ตลอดเวลาเพื่อปรับให้เข้ากับสภาวะเครือข่าย ข้อเสียของระบบเช่นนี้คือ แพ็คเก็ตอาจไปถึงจุดหมายโดยไม่ได้เรียงลำดับ(Out of Order) จึงต้องถูกจัดเรียงใหม่ก่อนที่จะส่งต่อให้ผู้รับปลายทาง เครือข่ายที่ใช้ระบบนี้รู้จักกันดีคือ อาร์พาเน็ต(ARPARNET)ย่อมาจาก (Advanced Research Projects Agency Network) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดกำเนิดแม่แบบเครือข่ายสากล หรืออินเตอร์เน็ตด้วย (Internet) ด้วยส่วนระบบเครือข่ายเวอร์ชวลเซอร์กิตใช้รหัสของต้นทางและปลายทางในแพ็คเก็ตแรก เพื่อจัดเส้นทางผ่านระบบเครือข่ายสำหรับข้อความที่ต้องการส่งในชุดนั้นทั้งหมด ข้อดีของวิธีนี้คือ ส่วนหัวสำหรับแพ็คเก็ตถัดๆไปมีขนาดลดลงได้เพราะแพ็คเก็ตหลังๆเพียงแต่ตามหลังแพ็คเก็ตหน้าไปจึงไม่จำเป็นต้องมีรหัสต้นทางปลายทางอีก และอัลกอริทึมสำหรับจัดเส้นทางนั้นจะทำกันเพียงครั้งเดียวต่อข้อความทั้งข้อความ แทนที่จะต้องคำนวณใหม่สำหรับทุกๆแพ็คเก็ต ข้อเสียสำหรับวิธีการนี้ คือ คอมพิวเตอร์ตามที่กำหนดเส้นทางขึ้นนั้นต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางนี้ไว้จนกว่าแพ็คเก็ตสุดท้ายจะผ่านไปแล้ว ในกรณีนี้ต้องใช้ที่เก็บข้อมูลมากสำหรับทั้งเครือข่าย และก่อให้เกิดปัญหาใหญ่หากคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเส้นทางเกิดเสีย และข้อเสียอีกประการ คือสมรรถนะของเครือข่ายไม่อาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพการใช้งานได้ง่าย เพราะเส้นทางถูกกำหนดตายตัวตั้งแต่แพ็คเก็ตแรกหากสภาวะของเครือข่ายระหว่างที่มีการสื่อสารข้อมูลกันอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไป แพ็กเก็ตหลังๆก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือปรับเส้นทางในการสื่อสารที่เหมาะสมได้ ตัวอย่างของเครือข่ายแบบนี้คือ TRANSPAC ในฝรั่งเศสและ TYMNET ในสหรัฐอเมริกาหลังจากนั้นก็มีการพัฒนาระบบเครือข่ายขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันประมาณการว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในโลกของอินเตอร์เน็ตมีมากกว่า 30 ล้านเครื่องเลยทีเดียว โดยมีข้อกำหนดว่าทุกเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกันจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของการเชื่อมต่อหรือโปรโตคอล ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเครือข่ายแบบนี้โดยเฉพาะซึ่งเรียกว่า TCP/IP เหมือนกันหมดทุกเครื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกันนี้จะมีผลทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ปัจจุบันมีจำนวนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตมากกว่า 5 หมื่นเครือข่าย และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กลางที่คอยให้บริการข้อมูลหรือเซิร์ฟเวอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต 5 ล้านเครื่อง และยังประมาณกันว่าจะมีผู้ขอใช้อินเตอร์เน็ต (ไคลเอนต์) ในเวลานี้มากกว่า 30 ล้านคน กระจายการใช้งานมากกว่า 84 ประเทศในทั่วทุกมุมโลก ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดของผู้พัฒนาเครือข่าย โดยไม่มีข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ เพียงแต่ใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ TCP/IP เท่านั้น ทำให้อินเตอร์เน็ตสามารถเติบโตไปอย่างไม่มีขอบเขตและขีดจำกัดโดยไม่มีใครสามารถเข้ามาควบคุมการผูกขาดทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอินเตอร์เน็ตเปิดให้บริการเครือข่ายที่สามารถให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูล ด้วยรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เป็นแบบมัลติมีเดียซึ่งประกอบไปด้วยภาพกราฟิก เสียง ข้อมูล และสัญญาณวิดีโอที่ชื่อว่า World Wide Web ที่ทำให้การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากนอกนั้นอินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นเครือข่ายที่เปิดกว้างสำหรับทุกๆเรื่อง ตั้งแต่การแสดงออกทางความคิดเห็นจนถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆอย่างไร้ข้อจำกัด โดยไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใครในโลกอภิมหาเครือข่าย

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล

สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)

     เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทาง โดย

ไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้ เช่นระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) 

     เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด


3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex)

     หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางในเวลาเดียวกัน เช่นระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร

สรุปได้ว่า

 


 

  


หุ่นยนต์

หุ่นยนต์ หุ่นยนต์ คือเครื่องยนต์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานใ...