หุ่นยนต์ คือเครื่องยนต์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ หรืออาจมีการตั้งค่าให้หุ่นยนต์สามารถตัดสินใจได้เองในระดับใดระดับหนึ่ง การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากหรืออันตรายเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบ งานสำรวจในบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ หรืองานสำรวจบนผิวของดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ต่าง ๆ ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในหลากหลายด้าน เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต ด้านการแพทย์ ด้านงานสำรวจทั้งในโลกเราและงานสำรวจในอวกาศ หรือด้านการบันเทิง เช่นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์มากขึ้นเพื่อผลทางจิตวิทยาในการอาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ในชีวิตประจำวัน
หุ่นยนต์ที่ใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรม
Articulated Arm (Revolute)
1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะ ของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่างๆ
2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำ ได้ง่าย
3. มีพื้นที่การทำงานมาก
4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง
5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นชุดขับเคลื่อน
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมทำความ เข้าใจได้ยากขึ้น
3. ควบคุมให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear) ได้ยาก
เมื่อมีกระแสโรคระบาดเกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับโลก นอกจากจะสร้างความตื่นตระหนกให้ผู้คนเป็นวงกว้างแล้ว ยังส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำหน้าที่กันเต็มกำลังเพื่อรักษาผู้ป่วย และเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้รู้ว่าบุคลากรทางการแพทย์หลายด้านมีความขาดแคลน ดังนั้น นี่เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้นักวิจัยพยายามจะคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับแพทย์ในการทำหน้าที่รักษาผู้ป่วย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้มากที่สุดด้วย
ไทยเป็นหนึ่งในประเทศมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ จากการกระจายตัวบุคลากรด้านการแพทย์ในหลายพื้นที่ ทำให้อัตราส่วนจำนวนบุคลากรทางด้านการแพทย์ต่อประชากรทั้งหมดค่อนข้างต่ำ เฉลี่ย 0.393 คนต่อประชากร 1000 คน โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดอย่างการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ยิ่งทำให้รู้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ไทยยังขาดแคลน ในฐานะนักวิจัยจึงต้องการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาแบ่งเบาภาระแพทย์พยาบาล ตลอดจนมุ่งพัฒนายกระดับระบบสาธารณสุขของประเทศให้ดีขึ้นด้วย”
ทางทีมวิจัยคณะวิศวะมหิดล
จึงได้พัฒนา หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ Doctosight สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช
(Telemedecine) ขึ้น เพื่อช่วยให้แพทย์และบุคลากรไม่ต้องเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง
ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากคนไข้อย่างได้ผล
โดยจุดเด่นของหุ่นยนต์นี้สามารถทำงานร่วมกันได้มากกว่าหนึ่งตัวเพื่อตอบสนองคำสั่ง
ในการตรวจสอบข้อมูลการทำงานในเชิงดิจิทัลในรูปแบบของการทำงานหุ่นยนต์ เช่น เวลาการบังคับของผู้ใช้งาน
การระบุตำแหน่งหุ่นยนต์ที่มากกว่าหนึ่งตัวในระบบควบคุม
นอกจากนั้น ตัวระบบจะอาศัยแพทย์หรือพยาบาลเฉพาะตอนที่ให้คำปรึกษากับคนไข้ผ่านตัวหุ่นยนต์
ซึ่งช่วยลดภาระการทำงานของแพทย์ พยาบาล เช่น วัดชีพจร วัดความดันเลือด วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
เป็นต้น และส่วนกลางของตัวหุ่นยนต์ออกแบบเป็นช่องเก็บของ ช่วยลำเลียงยาและวัสดุไปยังคนไข้
ในส่วนของการติดต่อสื่อสารระหว่างหุ่นยนต์กับตัวผู้ใช้งาน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงการใช้งานของหุ่นยนต์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
โดยทำให้อยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถดาวโหลดและเข้ารหัสกับตัวหุ่นยนต์ ด้วยการควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ผ่านระบบติดต่อไร้สาย
ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย และยังสามารถแสดงผลจากตัวหุ่นยนต์มาได้เสมือนอยู่ในสเตชั่นควบคุมหุ่นยนต์ด้วย
กว่า 5 ปี ของการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด
โดยเริ่มจากแรงบันดาลใจ ที่อยากจะช่วยเหลือประเทศไทยในแบบของวิศวกร โดยจะขอใช้ความรู้ความสามารถที่มี
เป็นกำลังหนุนให้กับเหล่าทหารที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันประเทศในเหตุการณ์ไม่สงบต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเห็นความสำคัญของหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่สามารถเข้าไปเก็บกู้หรือทำลายวัตถุต้องสงสัยแทนเจ้าหน้าที่
ซึ่งอย่างน้อยที่สุดแม้จะปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จ หุ่นยนต์เหล่านี้จะเข้าไปตายแทนเจ้าหน้าที่
ถือเป็นการลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งแน่นอนว่ามูลค่าของหุ่นยนต์
เทียบไม่ได้เลยกับชีวิตคนหนึ่งคน แม้ว่าราคาจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม
จากความคิดนี้ ทำให้มีเริ่มวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นแรกขึ้น
และ เพื่อให้สามารถใช้ได้จริง เหมาะสมกับสถานการณ์ พื้นที่ รวมไปถึงการใช้งานฟังก์ชั่นต่าง
ๆ นั้น ทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดรุ่นถัดมาอีกหลายรุ่น จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
การใช้ความรู้ความสามารถของเหล่าวิศวกรไทย และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการทดสอบใช้งานจริงนับครั้งไม่ถ้วน
เกิดเป็นหุ่นยนต์แห่งความภาคภูมิใจรุ่นใหม่ล่าสุด คือ หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่มีชื่อว่า
“THER” ซึ่งต้องย้ำว่าวิดีโอที่ได้รับชมไปนั้น
เป็นเพียงการสาธิตบางส่วนเท่านั้น เพราะหุ่นยนต์ตัวนี้มีอะไรพิเศษ ๆ อีกมากมายที่ต้องติดตาม
รับรองว่าต้องภูมิใจในความสามารถของวิศวกรไทย และประทับใจ “THER”
อย่างแน่นอน
No comments:
Post a Comment